Ads 468x60px

Featured Posts

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

สวิตเซอแลนด์



อนุเสาวรีย์สิงโต (Lion Monument)




อนุสาวรีย์รูปสิงโตหิน อนุสาวรีย์สำหรับทหารสวิสที่ตายในหน้าที่ที่ฝรั่งเศส ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ไม่ไกลจากสะพานไม้ชาเปลมากนัก อนุสาวรีย์รูปสิงโตหิน แกะสลักอยู่บนหน้าผา ที่หัวของสิงโตจะมีโล่ ซึ่งมีกากบาทสัญลักษณ์ของสวิสเซอร์แลนด์อยู่ อนุสาวรีย์รูปสิงโตแห่งนี้ออกแบบและแกะสลักโดย ธอร์ วอลเส้น ใช้เวลาแกะสลักอยู่ราว 2 ปี ตั้งแต่ ค.ศ.1819-1821 โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารสวิสฯ ในด้านความกล้าหาญ ซื่อสัตย์และจงรักภักดี ที่เสียชีวิตไปในประเทศฝรั่งเศส ระหว่างการต่อสู้ป้องกันพระราชวัง ในคราวปฏิวัติใหญ่ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1792 ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เมื่อดูสิงโตตัวนี้ จะเห็นว่าเขาได้แกะสลักอยู่บนหน้าผาหินในลักษณะนอนหมอบ มีหอกปักอยู่กลางหลัง สีหน้าแสดงความเจ็บปวดและเศร้าสร้อย 

b

a

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาพ Impressionism


ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิซึมคือการใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดา ๆ และมีมุมมองที่พิเศษ
จิตรกรแนวอิมเพรสชันนิสม์ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่าง ๆ
ภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิซึม ประกอบด้วยการตวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้น ๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชันนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้าง ๆ มากกว่ารายละเอียด



Rococo



ศิลปะโรโคโค (ภาษาอังกฤษ:Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำ ผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนต้วของใบไม้ เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะ สมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ศิลปะตะวันตก
ศิลปโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภาย ใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งาน สำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 



ศิลปินสมัยโรโคโค ได้แก่
ฌอง อองตวน วัตโตว์ 

ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher)


Baroque

ศิลปะบาโรก (Baroque) เป็นคำที่กล่าวถึงสมัยหนึ่งของวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า
ศิลปะแบบบาโรกเริ่มมีความนิยมกันครั้งแรกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากการประชุมแห่งเมืองเทรนต์ ทางที่ประชุมเรียกร้องให้ศิลปินเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างศิลปะ โดยให้สร้างจิตรกรรมและประติมากรรมทางศาสนาเพื่อคนไร้การศึกษา เพื่อให้คนเหล่านี้มีความเข้าใจในศาสนาและมีความศรัทธาเพี่มขึ้น แทนที่จะสร้างศิลปะเฉพาะผู้มีการศึกษาเท่านั้น การใช้ศิลปะเพื่อศาสนา มีอิทธิพลเริ่มมาจากผลงานของการาวัจโจ และ พี่น้องการ์รัชชี ทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานอยู่ที่กรุงโรมในระยะนั้น
ศิลปะแบบบาโรกแยกตัวจากศิลปะแบบจริตนิยมของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเน้นการประเทืองปัญญา มาเป็นศิลปะที่เน้นทางอารมณ์และความรู้สึก และทางนาฏกรรม (dramatic presentation) จุดมุ่งหมายคือทำให้ผู้ดูเข้าใจศิลปะได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องตีความหมายที่ศิลปินแอบแฝงเอาไว้ นอกจากนั้นเข้าใจแล้วยังเกิดความสะเทือนอารมณ์ เนื้อหาของศิลปะแบบบาโรกมักจะเอามาจากเรื่องของวีระชนต่างๆ เช่น ประวัติพระเยซู หรือนักบุญต่างๆ อย่างเช่นผลงานของอันนีบาเล การ์รัชชี และศิลปินในกลุ่มเดียวกัน คารัคชีซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การาวัจโจ และ Federico Barocci สองคนหลังนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มโปรโตบารอก (proto-Baroque) ศิลปินอีก 2 คนที่ถือกันว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของศิลปะแบบบาโรกคือ มีเกลันเจโล และ Correggio ด้วย

ตัวอย่างของศิลปะสมัยบาโรก ได้แก่ 




การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)


การฟื้นฟูศิลปวิทยา  หรือยุคเรเนสซองซ์ (Renaissance)  แปลว่าการเกิดใหม่เกิดขึ้นในยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน



สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการก็คือ สงครามครูเสด ประการแรกคือ การพัฒนาทางด้านการค้า เพราะว่าเส้นทางที่ต้องเดินทางไปรบนั้นเป็นระยะทางที่ไกลมาก บรรดาประชาชนในละแวกนั้นก็ถือโอกาสเอาสินค้าต่างๆมาจำหน่ายขายให้แก่ผู้มาแวะพักและต่อมานานๆ ผู้เข้ามาแวะพักก็ถือโอกาสนำสินค้าแปลกๆใหม่ๆที่ตนเองไปพบเห็นในต่างแดนติดไม้ติดมือมาจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย ทำให้เกิดเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เป็นล่ำเป็นสันขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมในลักษณะนี้มีผลทำให้เกิดชนชั้นใหม่ๆขึ้นมาในสังคม คือชนชั้นกลาง ได้แก่พวกพ่อค้า นักธุรกิจ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาทอำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นมาแทนที่พวกขุนนางเจ้าของที่ดิน อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามครูเสดในครั้งนั้น มีผลทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นอย่างมาก การเดินทางไปทำสงครามของชาวยุโรป ทำให้พวกเขาได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองต่างๆในทางตะวันออกที่รุดหน้ามากว่ายุโรปตะวันตกในยุคเดียวกันนั้นเป็นอันมาก ความเจริญต่างๆเหล่านั้นแท้ที่จริงแล้วก็เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานดั้งเดิมที่มีมาจากทางตะวันตก คือความรู้ศิลปะวิทยาการในสมัยกรีก สมัยโรมัน ยุคโบราณนั่นเอง ดังนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุคกลางไปสู่ยุคสมัยใหม่ หลังจากที่เริ่มมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในอิตาลีแล้วก็เริ่มแพร่ขยายออกไปยังดินแดนต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยปกติทั่วไปแล้วก็มักจะแพร่ขยายไปตามเส้นทางการค้า จากอิตาลีก็ขยายตัวออกไปยัง เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โปรตุเกส และสแกนดิเนเวีย ตามลำดับ


ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคนเป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี



 

Sample text

Sample Text

Sample Text