Ads 468x60px

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาพ Impressionism


ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิซึมคือการใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดา ๆ และมีมุมมองที่พิเศษ
จิตรกรแนวอิมเพรสชันนิสม์ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่าง ๆ
ภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิซึม ประกอบด้วยการตวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้น ๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชันนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้าง ๆ มากกว่ารายละเอียด



Rococo



ศิลปะโรโคโค (ภาษาอังกฤษ:Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำ ผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนต้วของใบไม้ เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะ สมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ศิลปะตะวันตก
ศิลปโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภาย ใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งาน สำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 



ศิลปินสมัยโรโคโค ได้แก่
ฌอง อองตวน วัตโตว์ 

ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher)


Baroque

ศิลปะบาโรก (Baroque) เป็นคำที่กล่าวถึงสมัยหนึ่งของวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า
ศิลปะแบบบาโรกเริ่มมีความนิยมกันครั้งแรกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากการประชุมแห่งเมืองเทรนต์ ทางที่ประชุมเรียกร้องให้ศิลปินเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างศิลปะ โดยให้สร้างจิตรกรรมและประติมากรรมทางศาสนาเพื่อคนไร้การศึกษา เพื่อให้คนเหล่านี้มีความเข้าใจในศาสนาและมีความศรัทธาเพี่มขึ้น แทนที่จะสร้างศิลปะเฉพาะผู้มีการศึกษาเท่านั้น การใช้ศิลปะเพื่อศาสนา มีอิทธิพลเริ่มมาจากผลงานของการาวัจโจ และ พี่น้องการ์รัชชี ทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานอยู่ที่กรุงโรมในระยะนั้น
ศิลปะแบบบาโรกแยกตัวจากศิลปะแบบจริตนิยมของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเน้นการประเทืองปัญญา มาเป็นศิลปะที่เน้นทางอารมณ์และความรู้สึก และทางนาฏกรรม (dramatic presentation) จุดมุ่งหมายคือทำให้ผู้ดูเข้าใจศิลปะได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องตีความหมายที่ศิลปินแอบแฝงเอาไว้ นอกจากนั้นเข้าใจแล้วยังเกิดความสะเทือนอารมณ์ เนื้อหาของศิลปะแบบบาโรกมักจะเอามาจากเรื่องของวีระชนต่างๆ เช่น ประวัติพระเยซู หรือนักบุญต่างๆ อย่างเช่นผลงานของอันนีบาเล การ์รัชชี และศิลปินในกลุ่มเดียวกัน คารัคชีซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การาวัจโจ และ Federico Barocci สองคนหลังนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มโปรโตบารอก (proto-Baroque) ศิลปินอีก 2 คนที่ถือกันว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของศิลปะแบบบาโรกคือ มีเกลันเจโล และ Correggio ด้วย

ตัวอย่างของศิลปะสมัยบาโรก ได้แก่ 




การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)


การฟื้นฟูศิลปวิทยา  หรือยุคเรเนสซองซ์ (Renaissance)  แปลว่าการเกิดใหม่เกิดขึ้นในยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน



สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการก็คือ สงครามครูเสด ประการแรกคือ การพัฒนาทางด้านการค้า เพราะว่าเส้นทางที่ต้องเดินทางไปรบนั้นเป็นระยะทางที่ไกลมาก บรรดาประชาชนในละแวกนั้นก็ถือโอกาสเอาสินค้าต่างๆมาจำหน่ายขายให้แก่ผู้มาแวะพักและต่อมานานๆ ผู้เข้ามาแวะพักก็ถือโอกาสนำสินค้าแปลกๆใหม่ๆที่ตนเองไปพบเห็นในต่างแดนติดไม้ติดมือมาจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย ทำให้เกิดเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เป็นล่ำเป็นสันขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมในลักษณะนี้มีผลทำให้เกิดชนชั้นใหม่ๆขึ้นมาในสังคม คือชนชั้นกลาง ได้แก่พวกพ่อค้า นักธุรกิจ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาทอำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นมาแทนที่พวกขุนนางเจ้าของที่ดิน อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามครูเสดในครั้งนั้น มีผลทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นอย่างมาก การเดินทางไปทำสงครามของชาวยุโรป ทำให้พวกเขาได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองต่างๆในทางตะวันออกที่รุดหน้ามากว่ายุโรปตะวันตกในยุคเดียวกันนั้นเป็นอันมาก ความเจริญต่างๆเหล่านั้นแท้ที่จริงแล้วก็เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานดั้งเดิมที่มีมาจากทางตะวันตก คือความรู้ศิลปะวิทยาการในสมัยกรีก สมัยโรมัน ยุคโบราณนั่นเอง ดังนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุคกลางไปสู่ยุคสมัยใหม่ หลังจากที่เริ่มมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในอิตาลีแล้วก็เริ่มแพร่ขยายออกไปยังดินแดนต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยปกติทั่วไปแล้วก็มักจะแพร่ขยายไปตามเส้นทางการค้า จากอิตาลีก็ขยายตัวออกไปยัง เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โปรตุเกส และสแกนดิเนเวีย ตามลำดับ


ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคนเป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี



เทพเจ้ากรีก-โรมัน แห่งยอดเขาโอลิมปัส


เทพโอลิมปัส (The Olympians, Major gods) เป็นเทพที่อาศัยบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus) มีทั้งหมด 12 องค์ แต่ถ้านับอย่างถี่ถ้วนจะมีทั้งสิ้น 16 องค์ ดังนี้
1. ซีอูส (Zeus) เป็นราชาของบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายและเหล่ามนุษย์บนโลก ซีอูสมีอาวุธเป็น Thunderbolt (สายฟ้า) เทพซีอูสมีพี่น้องซึ่งเป็นเทพปกครองโลกร่วมกัน 5 องค์ ได้แก่ เทพโพไซดอน เทพีดีมิเทอร์ เทพีเฮร่า เทพฮาเดส และเทพีเฮสเตีย



2. โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล สัญลักษณ์ของพระองค์คือ “สามง่าม” หรือ “ตรีศูล” ที่สามารถแหวกน้ำทะเลและทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้



3. ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรรม การเก็บเกี่ยว



4. เฮร่า (Hera) ราชินีแห่งสวรรค์ เป็นทั้งน้องสาวของซีอูสและเป็นภรรยาด้วย เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส และสตรี สัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง


5. เฮสเทีย (Hestia) เทพีพรมจรรย์แห่งการครองเรือน เทพแห่งครอบครัว ในฐานะของเทพีผู้รักษาบ้าน พระนางเป็นผู้ที่สร้างบ้านขึ้นเป็นคนแรก วิหารของพระนางอยู่ที่กรุงโรม ซึ่งจะได้รับการบวงสรวงจากสาวพรหมจารี พระนางมีสัญลักษณ์เป็นไฟนิรันดร



6. แอเรส (Ares) เทพแห่งสงคราม บุตรของ ซูส กับ เฮร่า สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยวและสุนัขมังกรไฟ (บางตำราว่าเป็นนกแร้ง)



7. อะพอลโล่ (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย กีฬา การรักษาโรคภัย การดนตรี และ เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ เป็นบุตรแห่ง ซีอุส และ เทพีลีโต้ (Leto) มีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์ทามิส (Artemis) อะพอลโล่มีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คือ ต้นลอเรล Laurel สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน เครื่องดนตรีพระจำพระองค์คือพิณ วิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่ที่เดลฟี่ Delphi ซึ่งที่นั่นจะมีนักบวชคอยบอกคำทำนายของพระองค์ให้แก่ประชาชนที่มาสักการบูชา



8. อาร์เทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ เป็นบุตรีของซูสและ เทพีลีโต้ เป็นน้องสาวแฝดของอะพอลโล่ พระองค์เป็นเทพีพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆ คือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม สวมกระโปรงสั้น บางครั้งอาจเห็นเธออยู่บนรถศึกเทียมด้วยกวางขาว



9. เฮอร์เมส (Hermes) เทพแห่งการค้า การโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ เป็นบุตรของ ซูส กับ มีอา พระองค์มักจะปรากฏกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคทาที่มีงูพัน



10. อธีน่า (Athena) เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และศิลปศาสตร์ทุกแขนงของกรีกรวมถึงศิลปะการต่อสู้ด้วย ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก
เทพีอธีน่า เป็นผู้ที่มอบมะกอกให้กับมนุษย์เป็นองค์แรก ทำให้เมือง Athens ได้ใช้ชื่อของพระองค์เป็นชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติ



11. อะโฟร์ไดท์ (Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม เป็นบุตรีของ ซูส กับ เทพีไดโอนี่ (บางตำราว่าเกิดจากฟองคลื่น) สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก นกนางแอ่น ห่าน และเต่า ส่วนดอกไม้และผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางได้แก่กุหลาบ Myrtle และแอปเปิล กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย



12. เฮฟเฟตัส (Hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ ซูส กับ เฮร่า (บางตำราว่าเป็นบุตรของ Hera ผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์



13. ไดโอไนซูส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ การทำไวน์ และการเก็บเกี่ยวผลไม้ เป็นเทพองค์ล่าสุดที่ขึ้นไปอยู่บนโอลิมปัส


14. เพอร์เซโฟเน่ (Persephone) เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิ เป็นบุตรีแห่ง ซูส และ ดีมิเทอร์


15. อีรอส (Eros) กามเทพ รู้จักกันดีในภาษาโรมันว่า คิวปิด Cupid เป็นบุตรแห่งเทพีความรัก อะโฟร์ไดตี้ และ เทพการศึกสงคราม เอเรส


16. เฮเดส (Hades)เทพแห่งใต่พิภพยมโลก และเป็นเทพดูแลอัญมณีใต้ดิน ชาวกรีกบูชาพระองค์ก่อนเสมอที่จะลงมือทำเหมืองแร่



Post Modern


Postmodern หลังสมัยใหม่ หรือ Postmodernism ลัทธิหลังสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ “อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน” (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)
นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง”สำนึก” ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว
ลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ “สมัยใหม่” กับ “หลังสมัยใหม่” ชัดเจนขึ้น
ความคิดเกี่ยวกับลัทธิ “สมัยใหม่” ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ “หลังสมัยใหม่” มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ “ศิลปะกระแสหลัก” ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดู
ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ “คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์” (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ “หลังสมัยใหม่” เอาไว้ว่า “คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น “ลูกผสม” แทนที่จะ “บริสุทธิ์”, “ประนีประนอม” แทนที่จะ “สะอาดหมดจด”, “คลุมเครือ” แทนที่จะ “จะแจ้ง”, “วิปริต” พอๆกับที่ “น่าสนใจ”







วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฉันเป็นคนยุคไหน ?

ยุคสมัยปัจจุบัน



เป็นช่วงเวลาของอารยธรรมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นช่วงที่แต่ละอารยธรรมจะมีเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย และมีการตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี
นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาที่เป็น "สมัยปัจจุบัน" ของสากลโลกไว้ให้ตรงกับ ค.ศ. 1945 จนถึงปัจจุบันนี้ โดยเริ่มนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา
ในสมัยใหม่ เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างเทคโนโลยี และการค้นพบทฤษฎีความรู้ต่างๆ มากมาย แต่ทว่า การใช้เทคโนโลยีอย่างขาดจิตสำนึกทำให้เทคโนโลยีถูกใช้ไปในทางไม่ดีในช่วงปลายของสมัยใหม่ เกิดการแข่งขันสะสมและประดิษฐ์อาวุธอันร้ายแรงของประเทศต่างๆ จนนำไปสู่สงครามโลกถึง 2 ครั้ง ในเวลาเพียง 31 ปี มีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 100 ล้านคน เป็นความสูญเสียของมนุษย์ ที่เกิดจากสิ่งประดิษฐ์และการกระทำของมนุษย์ด้วยกันเอง
แต่ในช่วงใกล้สิ้นสุดของสมัยใหม่ เกิดการตระหนักในการใช้วิทยาการอย่างถูกวิธีและรอบคอบ แต่ในขณะเดียวกัน การพัฒนาเทคโนโลยีก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง และนับจากนั้น เทคโนโลยีของมนุษย์ก็ไม่เคยถูกจงใจใช้เพื่อสังหารมนุษย์จำนวนมาก ๆ อีกเลย ทำให้สังคมของอารยธรรมนั้นๆ มีสภาพคล้ายกับในช่วงปัจจุบัน ทำให้สมัยใหม่ของอารยธรรมนั้นๆ สิ้นสุดลง และอารยธรรมก้าวเข้าสู่สมัยปัจจุบัน 
แต่ถึงกระนั้น ก็มิใช่ว่าสมัยใหม่จะไม่มีสงครามเลย สงครามที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วงสมัยปัจจุบัน คือ สงครามเย็น อันเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของระบอบการปกครองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์ ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามเปลี่ยนโลกให้มีการปกครองในระบอบที่ฝ่ายตนสนับสนุน มีการใช้อาวุธปืนในการสังหารบ้าง แต่ไม่มีความรุนแรงกว้างขวางไม่มากเท่าสงครามโลกในสมัยใหม่                                                                     
 

Sample text

Sample Text

Sample Text